Category
การเปิดบัญชี
  • การเปิดบัญชี
  • การถ่ายโอนข้อมูล
  • รายการเดินบัญชี
  • การเข้าถึงบัญชี
  • การจัดการโปรไฟล์บัญชี
การฝากและถอนเงิน
การซื้อขาย

บุคคลผู้มีสถานภาพทางการเมืองหมายถึงอะไรและมีตำแหน่งใดบ้าง?

หลักเกณฑ์ในการพิจารณากําหนดความเป็นบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองของประเทศไทย ได้แก่ บุคคลธรรมดาที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลที่ดํารงตําแหน่งระดับสูง และมีอํานาจหน้าที่สําคัญในฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายตุลาการ (2) เป็นบุคคลที่ดํารงตําแหน่งระดับสูง และมีอํานาจหน้าที่สําคัญในการควบคุมและบริหาร ในราชการส่วนกลาง ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (3) เป็นบุคคลที่ดํารงตําแหน่งระดับสูง และมีอํานาจบังคับบัญชาในระดับสูงของฝ่ายทหาร หรือฝ่ายตํารวจ (4) เป็นบุคคลที่ดํารงตําแหน่งระดับสูงหรือกรรมการในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ

ยกตัวอย่าง เช่น

(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(2) สมาชิกวุฒิสภา

(3) รัฐมนตรี (ระดับรัฐมนตรีช่วยขึ้นไป)

(4) ผู้พิพากษา (ระดับผู้พิพากษาหัวหน้าศาลขึ้นไป)

(5) อัยการ (ระดับอัยการจังหวัดขึ้นไป)

(6) ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ

(7) ทหาร/ตำรวจ (ระดับนายพลขึ้นไป)

(8) ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด/ ปลัดเทศบาลนคร/ ปลัดเทศบาลเมือง/ ปลัดเทศบาลตำบล

(9) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล

บุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองของประเทศไทย ให้รวมถึงบุคคลธรรมดาที่มีลักษณะตามวรรคหนึ่ง ซึ่งพ้นจากตําแหน่งมาแล้วไม่เกินหนึ่งปีหรือยังคงมีบทบาทเกี่ยวข้องกับตําแหน่งดังกล่าวแม้จะพ้นจาก ตําแหน่งมาแล้วเกินหนึ่งปีก็ตาม

นอกจากนี้ยังให้รวมถึง (1) สมาชิกในครอบครัว ได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส และบุตร (2) ผู้ร่วมงานใกล้ชิด ได้แก่ (ก) บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ร่วมงานที่ได้รับมอบหมายให้ครอบครองหรือดูแลทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่น ๆ (ข) บุคคลธรรมดาซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดอันเนื่องมาจากการสร้างหรือดําเนิน ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ

เป็นประโยชน์หรือไม่?
Yes
No